วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สร้างประแจชักโครกใช้เอง

สร้างประแจชักโครกใช้เอง

ผมเคยซ่อมชักโครกมาหลายครั้งแล้ว ส่วนมากก็เป็นปัญหาน้ำรั่ว น้ำซึมนั่นล่ะครับ เวลาเราจะเปลี่ยนอะไหล่ตัวใหม่เข้าไปคงหนีไม่พ้นการขันตัวยึดสะดือชักโครกล่ะครับ ถ้าซ่อมครั้งเดียวแล้วดีก็ดีไป แต่ถ้าแก้ปัญหาไม่ตกก็จะขันเข้าขันออกกันหลายครั้งหน่อย วันนี้ผมมีเครื่องมือดีๆ ที่เราจะมาสร้างใช้กันเองสะดวกรวดเร็วกระทัดรัด ใช้แล้วจะติดใจครับ

อุปกรณ์
1. เครื่องเชื่อม (ถ้าไม่มีไปขอร้านให้เขาเชื่อมให้นะครับ หรือจะลงทุนซื้อมาใช้ก็ไม่ว่ากันครับ ราคาก็ประมาณ 3-4 พันบาทครับ)
2. ลวดเชื่อม
3. เหล็กแบนความหนา 2-3 มิลลิเมตร ความกว้าง 10 มิลลิเมตร
4. ลูกหมู หรือถ้าไม่มีก็ใช้เลื่อยตัดเหล็กก็ได้ครับ
5. ดินสอ
6. ไม้บรรทัด ตลับเมตร หรือฉาก
7. ตัวยึดสะดือชักโครกต้นแบบ
สะดือชักโครก
สะดือชักโครก

ขั้นตอนการทำ
1. ใช้สะดือชักโครกต้นแบบมาทาบขนาดลงบนกระดาษด้วยดินสอ
สะดือชักโครก
ทาบขนาดบนกระดาษ
สะดือชักโครก
ขนาดเท่าต้นแบบ
2. ใช้ไม้บรรทัดลากเส้นตัดแล้ววัดขนาดได้ดังรูป เป็นสี่เหลี่ยมคางหมูขนาด ด้านกว้าง 50 มิลลิเมตร ด้านแคบ 40 มิลลิเมตร ตัดให้ได้ 6 ชิ้น เท่าๆ กันครับ จะได้ง่ายเวลาเชื่อม
ตัดเหล็กคางหมู

ตัดเหล็ก

เหล็กคางหมู

3. นำชิ้นส่วนเหล็กทั้ง 6 ชิ้นมาทาบบนแบบ แล้วเชื่อมให้ได้ใกล้เคียงแบบมากที่สุด ขั้นตอนนี้ต้องระวังครับ ควรมีอุปกรณ์ป้องกันเชื่อม หน้ากากกันแสงจากการเชื่อม ถุงมือเชื่อม และที่ปิดจมูกกันควันเชื่อมด้วยเพื่อความปลอดภัยครับ
ทาบตามแบบ
นำเหล็กมาทาบตามแบบ
เชื่อมตามแบบ
เชื่อมให้ได้ตามแบบ
รอยเชื่อมที่ทำเสร็จแล้ว
เชื่อมให้ได้ทั้งสองด้านเพื่อความแข็งแรง
4. ทำความสะอาดรอยเชื่อมให้สวยงามด้วยลูกหมู หรือหินเจียรไฟฟ้า
ทำความสะอาดด้วยหินเจียรไฟฟ้า
ทำความสะอาดรอยเชื่อม
5. ทำด้ามจับประแจด้วยเหล็กอย่างเดียวกันโดยตัดให้มีความยาว 130 มิลลิเมตร แล้วเชื่อติดกับด้านข้างของตัวประแจ แล้วทำความสะอาดรอยเชื่อมอีกครั้งด้วยหินเจียร
ด้ามจับประแจ
ทำด้ามจับประแจยาว 130 มิลลิเมตร
ทำความสะอาดรอยเชื่อมเป็นครั้งสุดท้าย
6. ทำสีอีกเล็กน้อยด้วยสีสเปรย์ อันนี้แล้วแต่ชอบนะครับ สีอะไรก็ได้
ทำสีด้วยสเปรย์
ขนาดพอดีกับที่ได้ออกแบบไว้
ทำสีด้วยสเปรย์
สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
เห็นไหมครับ แค่นี้เราก็มีเครื่องมือไว้ใช้ประจำบ้านอีกชิ้นแล้วครับ ทั้งประหยัดตางค์ ใช้งานได้จริง และได้ความภูมิใจอีกด้วย ขอให้มีความสุขกับงานชิ้นนี้นะครับ กับงานอดิเรกของผมที่คุณก็ทำได้

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ซ่อมพัดลมฟิวส์ขาด

ซ่อมพัดลมฟิวส์ขาด


พัดลมตัวนี้ยี่ห้อ Hatari ครับ สวิทช์ควบคุมเป็นแบบสัมผัส ลูกค้าเขาให้ผมมาลองเช็คดูบอกว่าไม่หมุน ผมบอกว่างั้นลองเช็คดูก่อนล่ะกันครับ ว่าแล้วก็เสียบปลั๊กทดสอบครับ อันดับแรกไฟเข้าวงจรสวิทช์ควบคุมทุกอย่างสั่งได้หมดครับแต่พัดลมไม่หมุน ผมได้ลองแกะฝาครอบด้านหน้าพัดลมแล้วลงใช้มือหมุนใบพัดดูก็หมุนสะดวกดีครับ แสดงว่าปัญหามันต้องอยู่ในตัวมอเตอร์แน่นอน 1.ไม่ขดลวดมอเตอร์พัดลมไหม้ 2.ก็ฟิวส์ขดลวดมอเตอร์พัดลมขาดครับ

สาเหตุ
ฟิวส์ควบคุมอุณหภูมิ (เทอร์โมฟิวส์) ของขดลวดมอเตอร์พัดลมขาดเนื่องจากเกิดความร้อนสะสมที่ขดลวดมากเกินไป ฟิวส์จึงลาจากไปแบบไม่หวนกลับครับ ส่งผลให้ตัดวงจรของขดลวด ทำให้พัดลมเกิดอาการไม่หมุนอย่างที่ว่าครับ ปัญหานี้แก้ได้ไม่ยาก คุณก็ลองทำตามได้ครับ เรามาเริ่มกันเลยครับ



อุปกรณ์

1. มิเตอร์ไฟฟ้า หรือ มัลติมิเตอร์
2. มีดคัตเตอร์
3. คีมตัด
4. เหล็กตอกสลักพัดลม
5. เศษท่อ พีวีซี
6. ไขควงแฉก
7. แปรงสีฟัน
8. ค้อน
9. เทอร์โมฟิวส์
10. Cable Tie

คำเตือน
ควรตัดกระแสไฟฟ้า หรือถอดปลั๊กทุกครั้ง ก่อนลงมือซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าครับ

ขั้นตอนการถอด
1.ถอดฝาครอบด้านหน้าใบพัดลมออกโดยดึงโยกสลักด้านล่างสุดของฝาครอบ แล้วค่อยๆ ง้างออก


2. หมุนที่ยึดใบพัดออกโดยให้หมุน ตามเข็มนาฬิกา

TIGHTEN ขันเข้า - LOOSEN คลายออก

3. ค่อยๆ ดึงถอดใบพัดลมออก


4. หมุนที่ยึดฝาครอบด้านหลังใบพัดลมออกโดยให้หมุน ทวนเข็มนาฬิกา (พัดลมบางตัวอาจมีน๊อตยึดให้ใช้ไขควงขันออก)

LOOSEN คลายออก - TIGHTEN ขันเข้า






5. ค่อยๆ ดึงถอดฝาครอบด้านหลังใบพัดออก

6. ใช้ไขควงคลายน๊อตที่ยึดสลักบังคับส่ายออก แล้วดึงสลักออก



7. ใช้ไขควงคลอยน๊อตเพื่อถอดฝาครอบด้านหน้าตัวมอเตอร์พัดลมออก



8. ใช้ไขควงคลายน๊อตเพื่อถอดฝาครอบด้านหลังตัวมอเตอร์พัดลมออก


9. ถอดสลักรองใบพัดลมออกโดยรองหนุนแกนมอเตอร์ด้วย ท่อพีวีซี ใช้ค้อนค่อยๆ ตอกเบาๆ จนมิดแกนพัดลม จากนั้นใช้ตะปูที่ลบคมแล้วหรือเหล็กตอกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่ารูสลักค่อยๆ ตอกจนสลักหลุดออกมา





10. ใช้ไขควงคลายน๊อตที่ยึดสายไฟออกจากตัวมอเตอร์เพื่อความสะดวกเวลาถอดมอเตอร์

11. ใช้ไขควงคลายน๊อตที่ยึดคาปาซิเตอร์และเหล็กถ่วงน้ำหนักออกจากตัวมอเตอร์เพื่อความสะดวกเวลาถอดมอเตอร์


เหล็กถ่วงน้ำหนักมอเตอร์พัดลม
คาปาซิเตอร์
 12. ใช้ไขควงคลายน๊อตทั้ง 4 ตัว เพื่อถอดโครงด้านหลังมอเตอร์พัดลมออก และระวังไม่ให้ขดลวดมอเตอร์ได้รับความเสียหาย



13. ค่อยๆ ถอดแกนมอเตอร์ออกมาโดยต้องระวังไม่ให้ขดลวดมอเตอร์ได้รับความเสียหาย



14. ค่อยๆ ถอดขดลวดออกจากตัวมอเตอร์โดยต้องระวังไม่ให้ขดลวดมอเตอร์ได้รับความเสียหาย


พอดีพัดลมเครื่องนี้จุดต่อสายมันหลุดออกมาเลยทั้งที่ยังไม่ได้แกะครับ ต้องระวังเป็นพิเศษครับ จะเห็นว่าเราเจอเทอร์โมฟิวส์ที่ว่าแล้วครับ คือตัวสี่เหลี่ยมสีขาวที่เห็นทางด้านขวามือ เดี๋ยวผมจะจัดการตรวจเช็คมันครับ

เทอร์โมฟิวส์
ขั้นตอนการซ่อม
1. ใช้มือถอดปลอกฉนวนที่หุ้มจุดเชื่อม เทอร์โมฟิวส์ออก ด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ขดลวดขาดเสียหาย


2. ใช้มิเตอร์วัดไฟวัดความต้านทานของตัวเทอร์โมฟิวส์ ถ้าเป็นมิเตอร์แบบดิจิตอลจะมีฟังชั่นของเสียงอยู่ให้เราเลือกย่านนี้ ถ้าวัดแล้วมีเสียงดังแสดงว่าเทอร์โมฟิวส์ไม่ขาด ในทางกลับกันถ้าวัดแล้วไม่มีเสียงแสดงว่าเทอร์โมฟิวส์เสียหรือขาดนั่นเองครับ (สำหรับมิเตอร์แบบเข็มให้ตั้งไปที่ย่าน Rx1 หรือ Rx10 แล้วทำการวัด ถ้าเข็มขึ้นแสดงว่าเทอร์โมฟิวส์ไม่เสีย ในทางกลับกันถ้าวัดแล้วเข็มไม่ขึ้นแสดงว่าเทอร์โมฟิวส์เสียครับ)

ตั้งย่านฟังชั่นเสียง
กดเลือกให้มีเสียงเวลาวัดค่า
วัดที่จุดเชื่อมต่อทั้งสองขาของเทอร์โมฟิวส์

สรุปว่าตอนนี้ผมวัดแล้วไม่มีเสียง แสดงว่ามันได้จากไปอย่างสงบแล้วครับน่าสงสารจัง...หุหุ



3. ใช้กรรไกรตัดเทอร์โมฟิวส์ที่เสียออกมา
4. นำเทอร์โมฟิวส์ตัวใหม่ใส่เข้าไปแทน
เทอร์โมฟิวส์ราคาแสนถูก
เทอร์โมฟิวส์
ของใหม่เทียบกับของเก่า

คืออะไหล่เท่าที่ผมหาได้ก็จะไม่เหมือนเดิมเสียทีเดียว ให้ใช้แทนกันได้ครับ ดีกว่าไม่ได้ใส่เลยครับ การต่อตรงผมไม่แนะนำครับ เพราะถ้าเปรียบเทียบราคาเทอร์โมฟิวส์ 30 บาท กับขดลวดมอเตอร์ 300 - 400 บาท แล้วจะเห็นว่าคุ้มแสนคุ้มครับ

ถอดฉนวนมาใส่เทอร์โมฟิวส์ตัวใหม่
นำเทอร์โมฟิวส์ตัวใหม่ต่อเข้าจุดต่อเดิม

ขั้นตอนนี้หลังจากต่อเทอร์โมฟิวส์แล้วผมขอแนะนำให้ทำการบัตกรีด้วยนะครับเพื่อความแน่นและทดทานของจุดต่อครับ

ใส่ฉนวนให้เหมือนเดิม
ฉนวนอีกข้างครับ
5. เก็บจุดเชื่อมต่อสายโดยให้เทอร์โมฟิวส์แนบเข้ากับขดลวดมอเตอร์พัดลม จากนั้นใช้ Cable Tie รัดเก็บให้เรียบร้อย


เก็บเทอร์โมฟิวส์และจุดเชื่อมแนบกับขดลวดมอเตอร์
รัดด้วย Cable Tie
ตัดแต่ง Cable Tie ให้เรียบร้อย
ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้วเรามาทำความสะอาดกันซักหน่อยนะครับ โดยใช้พระเอกของเราแปรงสีฟันเก่าปัดฝุ่นกันซะหน่อย เพื่อความเป็นมืออาชีพครับ


ขั้นตอนประกอบ
1. ประกอบขดลวดเข้ากับโครงมอเตอร์พัดลม



 2. ประกอบแกนมอเตอร์เข้าไป



3. ประกอบโครงด้านหลังมอเตอร์พัดลม จากนั้นขันน๊อตทั้ง 4 ตัวให้แน่น



4. ประกอบคาปาซิเตอร์และเหล็กถ่วงน้ำหนักเข้ากับตัวมอเตอร์

5. ขันน๊อตเพื่อเก็บสายไฟเข้ากับโครงมอเตอร์พัดลมให้เรียบร้อย


6. ขันน๊อตยึดก้านบังคับส่ายเข้ากับโครงมอเตอร์พัดลมให้เรียบร้อย



7. ใส่สลักรองใบพัดลมโดยรองด้วยท่อพีวีซีแล้วใช้ค้อนค่อยๆ เคาะ


8. ขันน๊อตใส่ฝาครอบด้านหน้ามอเตอร์พัดลม
9. ขันน๊อตใส่ฝาครอบด้านหลังมอเตอร์พัดลม
10. ขันน๊อตใส่สลักปรับส่ายมอเตอร์พัดลม
11. ใส่ฝาครอบด้านหลังใบพัดลม

12. หมุนที่ยึดฝาครอบด้านหลังใบพัดลมเข้าโดยให้หมุน ตามเข็มนาฬิกา (พัดลมบางตัวอาจมีน๊อตยึดให้ใช้ไขควงขันเข้า)

13. ใส่ใบพัดลมเข้าที่เดิมโดยให้ร่องหลังใบเข้าสวมเข้ากับสลักรองใบพัดพอดี


ร่องด้านหลังใบพัดลม
สลักรองใบพัดลม

14. หมุนที่ยึดใบพัดลมเข้าโดยให้หมุน ทวนเข็มนาฬิกา



15. ใส่ฝาครอบใบพัดลมด้านหน้าเข้าที่เดิมเป็นอันเสร็จเรียบร้อย 

คล้องด้านบนก่อน
ล๊อคด้านล่างให้แน่นด้วยสลัก
 เป็นไงบ้านครับสำหรับการซ่อมพัดลม อาการฟิวส์ขาด ใครมีพัดลมอาการอย่างที่ว่าลองซ่อมดูนะครับ มีอะไรสอบถามกันได้ตลอดครับ กับ May's Hobby งานอดิเรกของผมที่คุณทำตามได้